สาระน่ารู้ ประจำเดือน กับเรื่องราวดีๆ
พร้อมประโยชน์เกี่ยวกับผักและผลไม้
และทางเลือกใหม่ สำหรับสมาชิก
ที่รักสุขภาพ ...

กระเจี๊ยบ : มีทั้งเขียวและแดง
ในสมัย พ.ศ. ๒๔๑๖ คนไทย คงรู้จักกระเจี๊ยบเพียงชนิดเดียวที่ “ลูกกินเปรี้ยว” ซึ่งคงเป็นกระเจี๊ยบเปรี้ยว หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่ากระเจี๊ยบแดงนั่นเอง แต่ในปัจจุบัน ชาวไทยรู้จักกระเจี๊ยบ ๒ ชนิด ทั้งกระเจี๊ยบแดงและกระเจี๊ยบเขียว ซึ่งต่างก็อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ Malvaceae พืชในวงศ์นี้ที่เรารู้จักกันดี ก็คือ นุ่น ทุเรียน ชบา ฝ้าย ฯลฯ เป็นต้น สันนิษฐานว่า กระเจี๊ยบเขียวคงเข้ามาในประเทศไทย หลัง พ.ศ. ๒๔๑๖ เช่นเดียวกับนุ่น เพราะไม่พบชื่อพืชทั้ง ๒ ชนิดในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ส่วนกระเจี๊ยบแดง(เปรี้ยว)คงเข้ามาก่อนหน้านั้นนานแล้ว แต่ก็ไม่มีบันทึกเป็น หลักฐานว่าเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อใด เราลองมาทำความรู้จักกับกระเจี๊ยบทั้ง ๒ ชนิดกันก่อน

กระเจี๊ยบแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่อในภาษาอังกฤษคือ Rozelle หรือ red sorrel เป็นพืชล้มลุกลักษณะเป็นพุ่มแตกกิ่งก้านสาขามาก สูงราว ๑.๒ ถึง ๒.๐ เมตร (ยกเว้นบางสายพันธุ์) ลำต้นและกิ่งก้านสีม่วงแดง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนหรือหนาม ใบเดี่ยวสีแดงอมเขียว ก้านใบแดง ขอบใบหยักเว้าลึก เป็น ๓ แฉก ดอกเดี่ยวออกตามง่ามใบ กลีบ-ดอกสีเหลืองอ่อนหรือชมพู กลางดอกสีแดงเข้ม ผลค่อนข้างกลมผิวเรียบ มีกลีบเลี้ยงหนาสีแดง หุ้ม กลีบเลี้ยงมีรสเปรี้ยว กระเจี๊ยบแดง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) และแพร่กระจาย ไปปลูกเขตร้อนทั่วโลก ชื่ออื่นๆของกระเจี๊ยบแดงคือ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอเหมาะ (ภาคกลาง), ผักเก้งเค้ง ส้มเก้งเค้ง (ภาคเหนือ,) แกงแดง (เชียงใหม่), ส้มตะเลงเครง (ตาก)

กระเจี๊ยบเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus (Linn.) Moench. ชื่อ ในภาษาอังกฤษคือ okra หรือ Lady’s Finger เป็นพืชล้มลุกลำต้นตรง สูงราว ๑.๒ ถึง ๒.๔ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว บางครั้งมีจุดประสีม่วง ผิวเปลือกลำต้น มีขนอ่อนปกคลุมเช่นเดียวกับใบและผล ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ มักเว้าเป็น ๓ แฉก ก้านใบยาว ดอกสีเหลืองอ่อน กลางดอกสีแดงเข้ม ดอกเดี่ยวออกตามง่ามใบ ผลยาวเรียว ปลายแหลม ผิวผลเป็นเหลี่ยมตามลำต้น จำนวนพูซึ่งมีราว ๕ ถึง ๘ พู ผลอ่อนสีเขียว เมล็ดอ่อนสีขาว ในผลมีน้ำเมือกข้นเหนียวอยู่มาก

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของกระเจี๊ยบเขียว สันนิษฐานว่าอยู่ในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเข้ามาในประเทศไทยไม่เกิน ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาเมื่อใด ชื่ออื่นๆของกระเจี๊ยบเขียวคือ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือมอญ มะเขือ ทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมื่น มะเขือละโว้ มะเขือพม่า (ภาคเหนือ)

กระเจี๊ยบในฐานะผักและอาหาร
กระเจี๊ยบแดง ใช้ใบและผล อ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวเป็นผักสำหรับแกงส้ม บางแห่งนำผลอ่อนมาดองเป็นผักดอง

ใบและผลอ่อนของกระเจี๊ยบแดงมีวิตามินเอ วิตามินซี กรด ซิตริก และธาตุแคลเซียมสูงมาก จึงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
กลีบเลี้ยงที่หุ้มผลแก่ของกระเจี๊ยบแดงนำมาทำแยม เชื่อม กวน น้ำผลไม้และไวน์ที่รสชาติดี สีแดงสวยสดใส นอกจากนี้ยังใช้แต่งสีและรสชาติของเยลลี่ และไวน์จากผลไม้ชนิดอื่นๆอีกด้วย

เครื่องดื่มจากกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดง นอกจากมีรสชาติดี มีสี สดสวยแล้ว ยังแก้อาการกระหายน้ำ และทำให้สดชื่น จึงนับเป็นเครื่องดื่มที่น่าส่งเสริมให้ชาวไทยดื่มกันมากขึ้น แทนที่จะเสียเงินทองออกต่างประเทศปีละมากๆ ในการดื่มน้ำอัดลมซึ่งมีโทษมากกว่าประโยชน์เสียอีก

กระเจี๊ยบเขียว ใช้ผลอ่อนเป็น ผักจิ้มโดยต้มให้สุกหรือย่างไฟเสียก่อน นอกจากนั้นยังใช้แกงได้ด้วย ในต่างประเทศใช้ทำสลัดหรือซุป ฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียวมีเมือกลื่น ซึ่งเป็นสารจำพวก pectin และ mucilage ช่วยให้กระเพาะ ไม่ระคายเคือง และอาหารผ่านลำไส้ได้สะดวกขึ้น ผลอ่อนกระเจี๊ยบเป็นผักที่มีคุ ณค่าทางโภชนาการสูงมากชนิดหนึ่ง

ประโยชน์ด้านอื่นๆของกระเจี๊ยบ
กระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณทางยา หลายอย่าง เช่น เมล็ด แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด
ใบและผล ทำยาแก้ไอ กัดเสมหะ ขับเมือก ขับมันในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ ช่วยให้ปัสสาวะใสและคล่องขึ้น ช่วยลดความดันเลือด แก้อาการกระหายน้ำ
เปลือกกระเจี๊ยบแดงมีเส้นใยเหนียวและแข็งแรงมาก ดีกว่าใยปอแก้ว และปอกระเจาเสียอีก ใช้ทำเชือก ทอกระสอบ ทำเปล ถักแห ถักอวนได้ดี

กระเจี๊ยบเขียวมีสรรพคุณทางยาคือ มีเมือกช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร แก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร ใช้ผลแก่บดเป็นผงผสมน้ำดื่ม ในอินเดียใช้เป็นยาแก้บิด ไอ หวัด ขัดเบา หนองใน ในมาเลเซียใช้รากแช่น้ำรักษาโรคซิฟิลิส ดอก ใช้ตำพอกฝี
เมล็ดกระเจี๊ยบเขียวใช้แทนเมล็ดกาแฟได้ เปลือกไม่เหนียวนักใช้ทอกระสอบ เชือก และทำกระดาษได้
กระเจี๊ยบเขียวนับเป็นผัก เศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสำหรับเกษตรกรไทย เพราะต่างประเทศสั่งซื้อผลกระเจี๊ยบเขียวจากไทยปีละหลายล้านบาท โดยมีบริษัท ทำโครงการปลูกกระเจี๊ยบเขียวครบวงจรร่วมกับเกษตรกรไทยในหลายพื้นที่ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยสามารถปลูกกระเจี๊ยบเขียวได้ตลอดปี

ไม่นานมานี้มีความเคลื่อนไหวจากทีมที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทยเพื่อแก้กฎหมายเกี่ยวกับการผลิตเหล้าประเภทหมัก(เช่น ไวน์)ให้ประชาชนทำได้เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งคาดว่าในอนาคตไม่ไกลเกษตรกรไทยจะได้พัฒนาเหล้า หมักและไวน์ชนิดต่างๆ มาเป็นสินค้าทดแทนการนำเข้าและส่งออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้อีกด้วย กระเจี๊ยบแดงที่สามารถนำไปผลิต ไวน์อย่างดีได้ก็คงจะเพิ่มบทบาทช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทยได้อีกแรงหนึ่ง รวมทั้งการนำไปทำเครื่องมือชนิดอื่นๆ อีกมากมาย

เมล็ดในสีขาว - เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย

เปลือกเมล็ด - แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน

เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) - รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ

ดอกสด - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวกลม ตัวเส้นด้าย ได้ผลดี
ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเนื้อทั้งหมด ครั้งละ 20-30 เมล็ด

เป็นยาระบาย ยาถ่าย
- ใช้เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก) แกะเมล็ดแล้วขนาด 2 หัวแม่มือ (15-30 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ
- เอามะขามเปียกละลายน้ำอุ่นกับเกลือ ฉีดสวนแก้ท้องผูก

แก้ท้องร่วง
-เมล็ดคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือกรับประทาน
-เปลือกต้น ทั้งสดและแห้ง ประมาณ 1-2 กำมือ (15-30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใส หรือ น้ำ รับประทาน

รักษาแผล
เมล็ดกะเทาะเปลือก ต้ม นำมาล้างแผลและสมานแผลได้

แก้ไอและขับเสมหะ
ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทานพอควร

เป็นยาลดความดันสูง
ใช้ดอกสด ไม่จำกัดจำนวน ใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน

สารเคมี :

ใบ มี Alcohols, phenolic esters and ethers. Sambubiose, Carboxylic acid, Oxalic acid

ดอก มี a - Oxoglutaric acid, Glyoxalic acid , Oxaloacetic acid

ผล มี Alcohols, Aldehydes; Citric acid Ketones, Vitamin B1, Essential Oil, Enzyme.

เมล็ด มี Phosphatidylcholine, Proteins Glutelin, Albumin, Prolamine, Lectin

ขอขอบคุณ /www.rspg.or.th

 

 

 
 


CopyRight 2007.
Thai Fresh Market | support@thaifreshmarket.net
powered by i.oum