สาระน่ารู้ ประจำเดือน กับเรื่องราวดีๆ
พร้อมประโยชน์เกี่ยวกับผักและผลไม้
และทางเลือกใหม่ สำหรับสมาชิก
ที่รักสุขภาพ ...

สมุนไพร กรวยป่า

กรวยป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Casearia grewiaefolia Vent. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Casearia kerri Craib, Casearia oblonga Craib ปัจจุบันได้ถูกย้ายมาอยู่ในวงศ์สนุ่น (SALICACEAE)

สมุนไพรกรวยป่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตวย (เพชรบูรณ์), ตวยใหญ่ ตานเสี้ยน (พิษณุโลก), คอแลน (นครราชสีมา), ขุนเหยิง บุนเหยิง (สกลนคร), ผ่าสาม หมากผ่าสาม (นครปฐม, อุดรธานี), ก้วย ผีเสื้อหลวง สีเสื้อหลวง (ภาคเหนือ), คอแลน ผ่าสามตวย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สีเสื้อ, หมูหัน เป็นต้น


ลักษณะของกรวยป่า
ต้นกรวยป่า จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงกลาง มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร รูปทรงโปร่ง ออกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น ลำต้นเปลาตรง มีลายสีขาวปนดำ คล้ายตัวแลนหรือตะกวด บางท้องที่จึงเรียกว่า “คอแลน” เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีเทา สีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ มีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป กิ่งอ่อนมีขนสั้น หนานุ่ม สีน้ำตาลแดง มีน้ำยางสีขาวใส ส่วนเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว ต้นที่มีอายุมาก โคนต้นมักมีพูพอน มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย จนถึงหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย ในประเทศไทยพบขึ้นทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และป่าทุ่งทั่วไปจนถึงพื้นที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร

สรรพคุณของกรวยป่า
เปลือกมีรสเมาขื่น ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต เป็นยาคุมธาตุ (เปลือก) ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุเช่นเดียวกับเปลือก (ราก)
ผลใช้เป็นยาฟอกโลหิต (ผล)
ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
ดอกและใบมีรสเมาเบื่อ ใช้เป็นยาแก้ไข้พิษหรือพิษไข้ตัวร้อน (ใบ, ดอก)
ใช้เป็นยาแก้ไข้กาฬ พิษกาฬ พิษอักเสบจากหัวกาฬ (ราก, ใบ, ดอก)
ใบใช้ผสมกับใบยาสูบ มวนสูบเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูก (โรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในจมูก ทำให้หายใจขัด มีฝีหนองขึ้นในจมูก โพรงจมูกอักเสบ) (ใบ)ส่วนน้ำมันจากเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูกด้วยเช่นกัน

ผลใช้เป็นยาแก้น้ำลายเหนียว แก้เสมหะเป็นพิษ กัดเสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน (ผล)
เปลือกใช้เป็นยาขับผายลม (เปลือก
รากและเปลือกมีรสเมาขื่นใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง (ราก, เปลือก) บ้างใช้ทั้งใบและรากเป็นยาแก้ท้องร่วง (ใบและราก)
ผลใช้เป็นยาแก้บิดปวดเบ่ง แก้ลงท้อง (ผล)
ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (ราก, เมล็ด)
รากใช้เป็นยาบำรุงตับ แก้ตับพิการ (ความผิดปกติของตับ) (ราก)
เปลือกใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือก)
ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง โรคผิวหนังผื่นคันที่มีตัว เช่น กลาก เกลื้อน หิด ผดผื่นคันตามผิวหนัง ช่วยรักษามะเร็งลาม แก้บาดแผล นำมาหุงเป็นน้ำมันทาบาดแผลและผิวหนังติดเชื้อโรค (ใบ) ] ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ผื่นคันเช่นเดียวกับใบ (ราก)
น้ำมันที่ได้จากเมล็ดที่ใช้เป็นยาทาแก้โรคผิวหนังได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
เมล็ดมีรสเมาเบื่อ ใช้เป็นยาแก้พยาธิผิวหนัง (เมล็ด)
ใบและดอกใช้เป็นยาแก้พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ (ใบและดอก)
ประโยชน์ของกรวยป่า
น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาเบื่อปลา
เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้สอย และเฟอร์นิเจอร์

ขอบคุณที่มา medthai.com

 

 
 


CopyRight 2007.
Thai Fresh Market | support@thaifreshmarket.net
powered by i.oum